วันพฤหัสบดีที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

วิธีการปลูกมะเขือเทศและวิธีดูแล

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ วิธีปลูกมะเขือเทศ


การปลูกมะเขือเทศ




มะเขือเทศสามารถเจริญเติบโตทางด้านลำต้น ใบ และออกดอกได้ดีตลอดทั้งปี แต่การติดผลของมะเขือเทศต้องการสภาพอากาศค่อนข้างเย็น อุณหภูมิกลางวันที่เหมาะสมอยู่ที่ระหว่าง 25 - 30 องศาเซลเซียส อุณหภูมิกลางคืนประมาณ 16 - 20 องศาเซลเซียส ถ้าอุณหภูมิกลางคืนสูงกว่า 22 องศาเซลเซียส จะทำให้มะเขือเทศไม่ติดผลหรือติดผลได้น้อยมาก ฝนและความชื้นสูงเป็นสาเหตุสำคัญทำให้โรคทางใบและทางรากระบาดรุนแรง ดังนั้นฤดูปลูกที่เหมาะสมที่สุดจึงอยู่ในช่วงฤดูหนาว โดยมีช่วงหยอดเมล็ดเพาะกล้าอยู่ระหว่างเดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคม ซึ่งนอกจากสภาพอากาศจะเหมาะสมต่อการติดผล ทำให้ได้ผลผลิตสูงแล้วยังมีศัตรูพืชรบกวนน้อย ต้นทุนการผลิตจึงต่ำกว่าการปลูกในฤดูอื่นด้วย 

การปลูกทำได้ 2 วิธี

1. เพาะกล้าแล้วย้ายปลูก โดยเตรียมแปลงกล้าอย่างประณีต ยกแปลงสูงประมาณ 1 คืบ นำปุ๋ยคอก หรือ ปุ๋ยหมักมาคลุกเคล้าประมาณ 1 - 2 บุ้งกี๋ ต่อ 1 ตารางเมตร ใช้เมล็ดประมาณ 30 - 40 กรัม หยอดลงบนแปลงยาว 10 เมตร กว้าง 1 เมตร จะได้ต้นกล้าพอสำหรับปลูกในพื้นที่ 1 ไร่ การหยอดเมล็ด ควรหยอดเป็นแถวห่างกันประมาณ 10 ซม. ลึกไม่เกิน 1 ซม. เมื่อหยอดเมล็ดแล้วกลบด้วยดินผสมปุ๋ยหมัก และคลุมแปลงด้วยฟางข้าว หรือ หญ้าแห้งบางๆ ในช่วง 3 วันแรก รดน้ำสม่ำเสมออย่าให้ผิวหน้าดินแห้ง และถ้าแดดจัดหรือฝนตกหนักต้องคลุมแปลงด้วยผ้าไนล่อนหรือผ้าพลาสติก เพื่อป้องกันเม็ดฝนกระแทกลำต้นหรือใบเป็นรอยซ้ำ ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคต่างๆ ได้ง่าย โรคที่สำคัญในแปลงกล้า คือ โรคโคนเน่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อฝนตกติดต่อกัน ความชื้นในอากาศและที่ผิวดินสูง ป้องกันโดยนำเศษฟางหรือหญ้าที่ใช้คลุมแปลงออกให้หมด เพื่อให้แปลงกล้าโปร่งและการระบายอากาศดี แล้วฉีดพ่นด้วยยากันรา ในช่วงที่กล้ามะเขือเทศอายุประมาณ 17 - 22 วัน ควรลดปริมาณน้ำที่ให้ลง และให้กล้าได้รับแสงแดดอย่างเต็มที่ ต้นกล้าจะแข้งแรง เหนียว ไม่อวบฉ่ำน้ำ ซึ่งมีผลให้กล้ารอดตายมาก หลังจากย้ายกล้า โดยทั่วไปการย้ายกล้าลงแปลงปลูกมักจะใช้กล้าอายุประมาณ 21 - 25 วัน หลังจากหยอดเมล็ดหรือเมื่อกล้ามีใบจริง 3 - 4 ใบ

2. หยอดเมล็ดลงแปลงปลูกโดยตรง ใช้ในกรณีที่สามารถให้น้ำได้ง่าย แต่จะเสียเวลาและแรงงาน ในการดูแลรักษามากกว่า อีกทั้งต้องใช้เมล็ดพันธุ์มากขึ้นเป็น 80 - 100 กรัม ต่อไร่ สำหรับระยะปลูกที่เหมาะสม ควรใช้ระยะระหว่างแถว 1 เมตร ระยะระหว่างต้น 25 - 50 ซม. ปลูก 1 ต้น ต่อ หลุม ถ้าใช้ระยะปลูกแคบจะได้ผลผลิตต่อ พื้นที่มากขึ้น แต่การควบคุมโรคและการปฏิบัติงานอื่น จะยุ่งยากขึ้นด้วย ในฤดูแล้งควรปลูกถี่ ส่วนในฤดูฝนควรใช้ระยะปลูกห่าง เนื่องจากมะเขือเทศเจริญเติบโตดี มีทรงพุ่มสูงใหญ่กว่าฤดูอื่นๆ

การปฏิบัติดูแลรักษา

- การคลุมแปลงปลูกด้วยฟางหรือหญ้าแห้ง เพื่อรักษาความชื้นของดินและเป็นการป้องกันการชะล้างผิวหน้าดินเมื่อฝนตก หรือให้น้ำ นอกจากนี้ยังช่วยลดเปอร์เซ็นต์ผลเน่าและการระบาดของโรคทางใบ ซึ่งจะช่วยให้ผลผลิตเพิ่มสูงขึ้นประมาณ 20 - 40 % แต่ฟางมักจะมีเชื้อราสเคอโรเตี่ยมติดมาด้วย ทำให้เกิดโรคเหี่ยวต้นแห้งตายไป การคลุมฟางจึงควรคลุมให้ห่างโคนต้น เพื่อไม่ให้โคนต้นมีความชื้นสูงเกินไป

- การกำจัดวัชพืช ใช้สารเคมีชื่อ เมตริบูซิน หรือชื่อการค้าว่า เซงคอร์ อัตรา 80 - 120 กรัม (เนื้อสารบริสุทธิ์) หรือ 115 - 170 กรัม สารเซงคอร์ 70 % ต่อพื้นที่ปลูก 1 ไร่ ฉีดหลังจากย้ายกล้า ขณะที่ดินมีความชื้นอยู่ จะสามารถควบคุมวัชพืชใบแคบและใบกว้างบางชนิดได้ แต่ถ้ามีการพรวนดิน พูนโคนหลังจากใส่ปุ๋ยที่อายุ 20 และ 40 วัน ก็ไม่จำเป็นต้องใช้สารเคมีควบคุมวัชพืช

วันอังคารที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2560

พระราชกรณียกิจในหลวง รัชกาลที่ 9

                          การพัฒนาและอนุรักษ์ดิน
                                           
                                            ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ พระราชกรณียกิจ

หลังจากงานจัดสรรที่ดินทำกินในระยะแรกแล้ว แนวพระราชดำริในการจัดการทรัพยากรดินของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ขยายขอบเขตไปสู่เรื่องการพัฒนาและอนุรักษ์ดินเพื่อการเกษตรกรรม เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตทางการเกษตรให้สูงขึ้นหรือรักษาไว้ไม่ให้ตกต่ำ เช่น การวิจัยและการวางแผนการใช้ที่ดินเพื่อให้มีการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับลักษณะสภาพดิน การศึกษาเพื่ออนุรักษ์บำรุงรักษาและฟื้นฟูดิน มรรควิธีส่วนใหญ่เป็นวีธีการตามธรรมชาติที่พยายามสร้างความสมดุลของระบบนิเวศและสภาพแวดล้อมให้เกิดขึ้น เช่น ให้มีการปลูกไม้ใช้สอยร่วมกับการปลูกพืชไร่เพื่อประโยชน์ให้ได้ร่มเงาและรักษาความชุ่มชื้น หรือการปลูกพืชบางชนิดในพื้นที่ซึ่งดินไม่ดี แต่พืชชนิดนั้นให้ประโยชน์ในการบำรุงดินให้อุดมสมบูรณ์ขึ้นโดยไม่ต้องลงทุนใช้ปุ๋ยเคมี พื้นที่บางแห่งไม่เหมาะสมสำหรับการปลูกพืชผล ทรงแนะนำให้ใช้ประโยชน์ด้านอื่น เช่น ฟื้นฟูเป็นทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ เป็นต้น

ในระยะต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงให้ความสำคัญมากขึ้นในงานอนุรักษ์และฟื้นฟูที่ดินที่มีสภาพธรรมชาติและปัญหาที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละภูมิภาค จึงมีพระราชดำริในการแก้ไขปัญหาที่ดินที่เน้นเฉพาะเรื่องมากขึ้น เช่น การศึกษาวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาดินเค็ม ดินเปรี้ยว ดินทราย ในภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปัญหาดินพรุ ในภาคใต้ และที่ดินชายฝั่งทะเล รวมถึงงานในการแก้ไขปรับปรุงและฟื้นฟูดินที่เสื่อมโทรมพังทลายจากการชะล้างหน้าดิน ตลอดจนการทำแปลงสาธิตการพัฒนาที่ดินเพื่อการเกษตรกรรมในบางพื้นที่ที่มีปัญหาในเรื่องดินเสื่อมโทรมด้วยสาเหตุต่าง ๆ ทั้งนี้ เพื่อให้พื้นที่ที่มีปัญหาเรื่องดินทั้งหลาย สามารถใช้ประโยชน์ทางการเกษตรได้อีก โครงการต่าง ๆ ในระยะหลังจึงเป็นการรวบรวมความรู้ทั้งทางทฤษฎีและปฏิบัติจากหลากหลายสาขามาใช้ร่วมกันในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และที่ปรากฏให้เห็นได้อย่างชัดเจนก็คือ แนวคิดและตัวอย่างการจัดการทรัพยากรดินในศูนย์ศึกษาการพัฒนาทุกแห่ง พระราชดำริและพระราชกรณียกิจในการดำเนินงานด้านการพัฒนาและอนุรักษ์ดินที่สำคัญ สามารถแบ่งได้เป็น 3 ส่วน คือ

ก) แบบจำลองการพัฒนาพื้นที่ที่มีสภาพขาดความอุดมสมบูรณ์ การจัดการทรัพยากรดินโดยการอนุรักษ์บำรุงรักษาดินที่มีสภาพขาดความอุดมสมบูรณ์ ดินปนทราย และมีปัญหาการชะล้างพังทลายของดินมีแบบจำลองอยู่ที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำริให้จัดตั้งขึ้นเพื่อทำการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับการสร้างระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ เป็นตัวอย่างในการป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน การขยายพันธุ์พืช เพื่ออนุรักษ์ดินและบำรุงดิน และสนับสนุนให้เกษตรกรเรียนรู้เข้าใจวิธีการอนุรักษ์ดินและน้ำ การปรับปรุงบำรุงดิน และสามารถนำไปปฏิบัติได้เอง โดยทรงมีพระราชดำริว่า "…การปรับปรุงที่ดินนั้นต้องอนุรักษ์ผิวดิน ซึ่งมีความสมบูรณ์ไว้ไม่ให้ไถ หรือลอกหน้าดินทิ้งไป สงวนไม้ยืนต้น ที่ยังเหลืออยู่ เพื่อที่จะรักษาความชุ่มชื่นของผืนดิน..." ( สำนักงาน กปร., 2542)

ข) การแก้ไขปัญหาดินเปรี้ยวด้วยวิธี "การแกล้งดิน" พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรับทราบความเดือดร้อนของพสกนิกรในภาคใต้โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกษตรกรในจังหวัดนราธิวาส ที่ประสบปัญหาดินเปรี้ยวทำให้เพาะปลูกไม่ได้ผล พระองค์จึงทรงมีพระราชดำริให้ทำการศึกษาวิจัยและพัฒนาดินพรุเพื่อแก้ไขปัญหาดินเปรี้ยว ณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง จังหวัดนราธิวาส โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการศึกษาและพัฒนาพื้นที่พรุ ซึ่งเป็นดินเปรี้ยวให้เป็นดินที่มีคุณภาพ สามารถทำการเพาะปลูกได้ พระองค์ทรงแนะนำให้ใช้วิธี "การแกล้งดิน" คือ เริ่มจากการแกล้งดินให้เปรี้ยวสุดขีด ด้วยการทำให้ดินแห้งและเปียกสลับกันเพื่อเร่งปฏิกิริยาทางเคมีของดินพรุที่มีสารประกอบของกำมะถันที่จะทำให้ดินมีสภาพเป็นกรดจัดเมื่อดินแห้ง จากนั้นก็จึงทำการปรับปรุงดินที่เป็นกรดจัดนั้นด้วยวิธีการต่าง ๆ ที่จะลดความเป็นกรดลงมาให้อยู่ในระดับที่จะปลูกพืชเศรษฐกิจ เช่น ข้าวได้

ค) "หญ้าแฝก" กับการอนุรักษ์ดินและฟื้นฟูพื้นที่เสื่อมสภาพ พื้นที่ดินในประเทศไทยที่ตั้งอยู่ในบริเวณที่มีความลาดชันเช่นพื้นที่เชิงเขาอยู่ในสภาพเสื่อมโทรมเนื่องมาจากการชะล้างพังทลายของดิน ทำให้เกิดการสูญเสียธาตุอาหารในดินและความอุดมสมบูรณ์ของดิน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริในการที่จะป้องกันการเสื่อมโทรมและการพังทลายของดินโดยใช้วิถีธรรมชาติ คือการใช้หญ้าแฝก

เมื่อวันที่22 มิถุนายน พ.ศ.2534 ได้พระราชทานพระราชดำริเกี่ยวกับหญ้าแฝกเป็นครั้งแรกกับ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการสำนักงาน กปร. ในขณะนั้นว่า ให้ทำการศึกษาทดลองปลูกหญ้าแฝก เพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน และอนุรักษ์ ความชุ่มชื้นไว้ในดิน เพราะขั้นตอนการดำเนินงานเป็นวิธีการแบบง่าย ๆ ประหยัด และที่สำคัญคือเกษตรกรสามารถดำเนินการเองได้ โดยไม่ต้องให้การดูแลภายหลังการปลูกมากนัก และได้พระราชทานพระราชดำริอีกหลายครั้งเกี่ยวกับการนำหญ้าแฝกมาใช้ประโยชน์ในลักษณะต่าง ๆ การดำเนินโครงการต่าง ๆ ดังกล่าวนี้ ทรงเน้นอยู่เสมอว่ากระบวนการพัฒนาที่ดินทั้งหมดนี้ จะต้องชี้แจงให้ราษฎร ซึ่งเป็นผู้ได้รับประโยชน์ มีส่วนร่วมและลงมือลงแรงด้วย (สำนักงาน กปร., 2542)

ตัวอย่างของการจัดการทรัพยากรดินด้วยการอนุรักษ์ดินและฟื้นฟูพื้นที่เสื่อมสภาพ โดยการป้องกันการเสื่อมโทรมและการชะล้างพังทลายของดินด้วยการปลูก "หญ้าแฝก" พืชจากพระราชดำริที่ทำหน้าที่เป็นกำแพงที่มีชีวิตในการอนุรักษ์และคืนธรรมชาติสู่แผ่นดิน ได้แก่โครงการฟื้นฟูดินเสื่อมโทรมเขาชะงุ้ม จังหวัดราชบุรี ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทราย จังหวัดเพชรบุรี และได้มีการนำมรรควิธีนี้ไปศึกษาวิจัย และนำไปสาธิตในท้องที่ต่าง ๆ ที่มีศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ ตั้งอยู่ รวมทั้งโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริอื่น ๆ เช่น โครงการพัฒนาหญ้าแฝกในโครงการพัฒนาดอยตุง เพื่อให้เกษตรกรได้รับทราบและนำไปปฏิบัติให้บังเกิดผลดีแก่ตัวเกษตรกรเอง และสังคมโดยรวม 

วันอังคารที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2560

iT24Hrs CMU smart classroom + ข่าวไอที 13Jan15

                      

ข่าว IT

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ Google ออกเตือนเว็บไซต์ ที่มีช่องใส่ ชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน หมายเลขบัตรเครดิต แต่ไม่มี HTTPS

Google ออกเตือนเว็บไซต์ ที่มีช่องใส่ ชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน หมายเลขบัตรเครดิต แต่ไม่มี HTTPS


Google ผู้ให้บริการเครื่องมือค้นหาข้อมูล (Search Engine) ยักษ์ใหญ่ของโลก ออกโรง ส่งข้อความแจ้งเตือน ผู้ดูแลเว็บไซต์ หรือ เว็บมาสเตอร์ ผ่านบริการ "Google Search Console" (ชื่อเดิมคือ "Google Webmaster Tools") ในกรณีที่ หากมีหน้าเพจใดๆ บนเว็บไซต์ ที่ต้องมีการใส่ ชื่อผู้ใช้งาน (Username) รหัสผ่าน (Password) และ รายละเอียดบัตรเครดิต (Credir Card Details) โดยไม่ใช้โปรโตคอลแบบ HTTPS

การแจ้งเตือน จะแจ้งเตือนผ่านผู้ใช้งาน หรือ ผู้เยี่ยมชมทุกคน ที่เปิดเว็บไซต์ผ่าน เว็บเบราว์เซอร์ Google Chrome 56 (เวอร์ชั่นใหม่ ที่ขณะนี้ยังไม่ออก) โดยทันทีว่า "Not Secure" หรือสถานะ "ไม่ปลอดภัย" ซึ่งนั่นอาจเป็นการทำให้ความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์ลดน้อยลงไปด้วยเช่นกัน
ดังนั้นใครเป็นผู้ดูแลเว็บไซต์ ควรจะต้องรีบสมัครซื้อบริการ SSL เพื่อให้ได้เจ้า HTTPS:// พร้อมกุญแจสีเขียว มาประดับเว็บไซต์ตัวเองด่วน มิเช่นนั้น ผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ อาจจะหายโดยไม่รู้ตัว ด้วยเหตุผลความน่าเชื่อถือ

ต้มยำกุ้งน้ำข้น

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ต้มยำกุ้งน้ำข้น


ต้มยำกุ้งน้ำข้น
ส่วนผสม
  • กุ้งกุลาดำตัวใหญ่ หรือกุ้งแม่น้ำ
  • เห็ดฟางผ่าครึ่ง
  • พริกขี้หนู
  • ใบมะกรูดฉีกเอาก้านออก
  • ข่าหั่นแว่น
  • ตะไคร้ทุบแล้วหั่นท่อน
  • ผักชี โรยหน้า
  • น้ำพริกเผา 1 ช้อนชา
  • มะนาว 1 ลูก
  • กะทิหรือนมข้นจืด 1/2 ถ้วย
  • น้ำตาล 1/2 ช้อนโต๊ะ
  • น้ำปลา 1 ช้อนโต๊ะ
  • เกลือ 1 หยิบมือ
  • น้ำซุป (ถ้าไม่มีเป็นซุปสำเร็จรูปกับน้ำเปล่า)
ขั้นตอนการทำ
  1. ก่อนอื่นต้องแกะเปลือกกุ้งผ่าเอาเส้นดำออกล้างให้สะอาด หั่นเครื่องต้มยำ พริก ขิง ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูดและเห็ด ให้พร้อม
  2. นำน้ำซุปไปตั้งไฟให้เดือด ใส่เครื่องต้มยำลงไปให้หมด พอเดือดอีกครั้งก็ใสกุ้งที่เตรียมไว้ลงไปเลย
    หลังจากใส่กุ้งลงไปแล้ว ให้ใส่ น้ำตาล น้ำปลา พริกขี้หนู พริกเผา ใครชอบรสแบบไหนใส่ลงไปตามชอบ ตามด้วยเห็ดฟาง
  3. ปิดเตาแล้วค่อยปรุงด้วยมะนาว(เคล็ดลับการบีบน้ำมะนาว ไม่ควรใส่มะนาวในน้ำที่กำลังเดือด เพราะจะทำให้มะนาวและน้ำซุปมีรสชม) โรยเกลือนิดหน่อยเพื่อดึงรสเปรี้ยวหวานเค้มให้เข้มข้นมากยิ่งขึ้น
  4. จัดชามเสิร์ฟ หั่นผักโรยหน้า เพิ่มความหอม

วันอังคารที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2560

อินเตอร์เน็ตเกิดจากหน่วยงานใด

หน่วยงานไทยที่เกี่ยวข้อ

  • อินเทอร์เน็ตเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1969 (พ.ศ. 2512) จากการเกิดเครือข่าย ARPANET (Advanced Research Projects Agency NETwork) ซึ่งเป็นเครือข่ายสำนักงานโครงการวิจัยชั้นสูงของกระทรวงกลาโหม ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีวัตถุประสงค์หลักของการสร้างเครือข่ายคือ เพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถเชื่อมต่อ และมีปฏิสัมพันธ์กันได้ เครือข่าย ARPANET ถือเป็นเครือข่ายเริ่มแรก ซึ่งต่อมาได้พัฒนาให้เป็นเครือข่าย อินเทอร์เน็ตในปัจจุบัน


โพรโทคอล หมายถึง   กฎระเบียบที่ใช้กำหนดวิธีการติดต่อสื่อสารระหว่างอุปกรณ์คู่หนึ่ง ซึ่งอาจจะเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์สื่อสารใด ๆ ผ่านระบบเครือข่าย เนื่องจากอุปกรณ์เหล่านี้อาจใช้รหัสแทนข้อมูลแตกต่างกัน และ/หรือมีกระบวนการทำงานแตกต่างกัน จึงจำเป็นต้องมีตัวกลางหรือวิธีการที่ใช้ในการเปลี่ยนแปลงหรือทำให้ความแตกต่างระหว่างอุปกรณ์หมดไป ซึ่งจะทำให้สามารถสื่อสารระหว่างกันได้ โพรโทคอลจึงมีหน้าที่ในการกำหนดรายละเอียดกระบวนการทำงานของตัวกลางนี้ให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน  

 

จดหมายอีเลกทรอนิกส์ หรือเรียกสั้น ๆ ว่า อีเมล์(E-mail) หมายถึง จดหมายหรือข้อความที่ส่งถึงกันผ่านระบบเครือข่าย เราสามารถส่งจดหมายไปให้ผู้รับซึ่งเป็นสมาชิกของระบบอินเทอร์เน็ตได้โดยไม่จำกัดสถานที่และเวลา จดหมายจะส่งถึงปลายทางอย่างรวดเร็วภายในเวลาไม่กี่วินาที หรืออาจจะส่งจดหมายฉบับเดียวไปถึงผู้รับหลายคน ในเวลาเดียวกันก็ได้ ทั้งผู้รับและส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ จะต้องมีที่อยู่เพื่อใช้ในการอ้างอิงการส่งและรับจดหมาย ที่อยู่สำหรับการรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ประกอบด้วยสองส่วน

 
MAN คืออะไร
     MAN ย่อมาจาก Metropolitan Area Network คือ  เครือข่ายระดับเมือง ซึ่งเป็นเครือข่ายที่มักเชื่อมโยงกันเฉพาะในเขตเมืองเดียวกัน หรือหลายเขตเมืองที่อยู่ใกล้กัน ระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตร

LAN ย่อมาจากคำว่า (Local Area Network)
-ระบบเครือข่ายขนาดเล็ก เป็นระบบเครือข่ายเน็ตเวิร์กที่ใช้เชื่อมต่อกันในระยะไม่ไกลมากนักโดยปกติมักเชื่อมต่อกันในระยะไม่เกิน 5 กิโลเมตร

WAN ย่อมาจากคำว่า (Wide Area Network)
-ระบบเครือข่ายขนาดใหญ่ เป็นระบบเน็ตเวิร์กที่มีการติดต่อสื่อสารกันในระดับประเทศ หรือติดตสื่อสารกันได้ทั่วทุกมุมโลกโดยทั่วไปเรียกว่า world wide web 


เว็บไซต์ (Web Site)
           เว็บไซต์ คือ คำที่ใช้เรียกกลุ่มของเว็บเพจ ( ดังนั้นภายในเว็บไซต์จะประกอบไปด้วยโฮมเพจและเว็บเพจ ) โดยเรามักใช้เรียกเว็บที่มีขนาดใหญ่และมีการจดทะเบียนชื่อเว็บไซต์นั้นๆไว้แล้ว (Domain Name) เช่น http://www.geocities.com http://www.sanook.com http://www.yahoo.com เป็นต้น


.ac.th
ย่อมาจาก academic in Thailand หมายถึง โรงเรียน มหาวิทยาลัยที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย






วันอังคารที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2560

http คืออะไร

http (HyperText Transfer Protocol: HTTP) คือโพรโทคอลในระดับชั้นโปรแกรมประยุกต์เพื่อการแจกจ่ายและการทำงานร่วมกันกับสารสนเทศของสื่อผสม ใช้สำหรับการรับทรัพยากรที่เชื่อมโยงกับภายนอก ซึ่งนำไปสู่การจัดตั้งเวิลด์ไวด์เว็บ  การพัฒนา http เป็นการทำงานร่วมกัน
ของเวิลด์ไวด์เว็บคอนซอร์เทียม (W3C) และคณะทำงานเฉพาะกิจด้านวิศวกรรมอินเทอร์เน็ต (IETF) ซึ่งมีผลงานเด่นในการเผยแพร่เอกสารขอความเห็น (RFC) หลายชุด เอกสารที่สำคัญที่สุดคือ RFC 2616 (เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2542) ได้กำหนด HTTP/1.1 ซึ่งเป็นรุ่นที่ใช้กันอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน




World Wide Web คืออะไร

             World Wide Web หรือที่เรามักเรียกสั้นๆว่า Web หรือ W3 (WWW) คือ คอมพิวเตอร์ส่วนหนึ่งบนอินเตอร์เน็ต ที่ถูกเชื่อมต่อกันในแบบพิเศษที่ทำให้คอมพิวเตอร์เหล่านั้นสามารถเข้าถึงข้อมูลเนื้อหาที่เก็บไว้ภายในของแต่ละเครื่องได้ (กลายเป็นแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่) โดยผ่านทาง บราวเซอร์ (Browser) ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ประเภทหนึ่งที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้อ่านและตอบโต้ข้อมูลต่างๆที่มีอยู่ใน World Wide Web โดยเฉพาะ บราวเซอร์ที่พบเห็นได้มากที่สุดในปัจจุบัน ได้แก่ Internet Explorer ของ และ Firefox



เสิร์ชเอนจิน (search engine) หรือ โปรแกรมค้นหา[1] คือ โปรแกรมที่ช่วยในการสืบค้นหาข้อมูล โดยเฉพาะข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตโดยครอบคลุมทั้งข้อความ รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว เพลง ซอฟต์แวร์ แผนที่ ข้อมูลบุคคล กลุ่มข่าว และอื่น ๆ ซึ่งแตกต่างกันไปแล้วแต่โปรแกรมหรือผู้ให้บริการแต่ละราย. เสิร์ชเอนจินส่วนใหญ่จะค้นหาข้อมูลจากคำสำคัญ (คีย์เวิร์ด) ที่ผู้ใช้ป้อนเข้าไป จากนั้นก็จะแสดงรายการผลลัพธ์ที่มันคิดว่าผู้ใช้น่าจะต้องการขึ้นมา ในปัจจุบัน เสิร์ชเอนจินบางตัว เช่น กูเกิล จะบันทึกประวัติการค้นหาและการเลือกผลลัพธ์ของผู้ใช้ไว้ด้วย และจะนำประวัติที่บันทึกไว้นั้น มาช่วยกรองผลลัพธ์ในการค้นหาครั้งต่อ ๆ ไป





เมื่อกล่าวถึงคำว่า “Mobile” คนทั่วไปมักจะเข้าใจในความหมายว่า เป็นโทรศัพท์เคลื่อนที่ แต่ที่จริง ยังมีองค์ประกอบอื่น ๆ เสริมอีก เช่น สามารถทำหน้าที่ได้เหมือนเครื่องคอมพิวเตอร์, เครื่องแปลภาษา, เครื่องคิดเลข หรือ เครื่องจัดการนัดหมาย/บันทึกช่วยจำ (Organizer) เป็นต้น ฯลฯ
       
       มีคำใช้เรียกต่าง ๆ หลายคำ ซึ่งจะมีความหมายใกล้เคียงกับ Mobile เช่น Embedded Devices, PDA, Palm sized / Handheld, Smart Phone ตัวอย่างเช่น
       
       1. Embedded Devices คือ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก มีการฝังตัว เป็นเหมือนสมองกลใช้ควบคุมการทำงานในเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ เช่น เครื่องปรับอากาศ, เครื่องซักผ้า, เครื่องเย็บผ้า ฯลฯ
       2. PDA (Personal Digital Assistant) คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กพกพาได้ง่าย มักใช้ทำงานส่วนตัวโดยทั่วไปจะใช้เรียก Palm หรือ Pocket PC
       3. Palm sized / Handheld หรือ PDA เอง แต่เรียกตามขนาดเครื่อง (ที่มีขนาดเล็กประมาณพอ ๆ กับฝ่ามือ หรือถือไปไหนด้วยมือเดียวได้)

       4. Smart Phone คือ โทรศัพท์มือถือ ที่มีคุณสมบัติเด่น คือ สามารถทำงานในแบบเดียวกับเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยมี ระบบปฏิบัติการ เป็นของตัวเอง (มักเรียก OS : Operating System)




บล็อก (อังกฤษ: blog) หรือ เว็บล็อก (weblog) เป็นหน้าเว็บประเภทหนึ่ง ซึ่งคำว่า blog ย่อมาจากคำว่า weblog หรือ web log โดยคำว่า weblog นั้นมาจาก web (เวิลด์ไวด์เว็บ) และ log (ปูม, บันทึก) รวมกัน หมายถึง บันทึกบนเวิล์ดไวด์เว็บ นั่นเอง
ในปัจจุบันบล็อก ถูกใช้เป็นเครื่องมือสื่อสารรูปแบบใหม่ ไม่ว่าจะเป็นการประกาศข่าวสาร การแสดงความคิดเห็น การเผยแพร่ผลงาน ฯลฯ และกำลังเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยขณะนี้ได้มีผู้ให้บริการบล็อกมากมาย ทั้งแบบให้บริการฟรี และเสียค่าใช้จ่าย – Wikipedia